วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประจำเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2553

วันที่ 7 มิย. 2553



เตรียมรับมือ สรพ. ติวการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของทีมพยาบาลและEMT
หัวหน้าใช้ไสยศาสตร์เข้าช่วยกลัวน้องๆจำตัวชี้วัด และเป้าหมายหน่วยไม่ได้ ก็เลยพาจัดบอร์ดตัวชี้วัด เป้าหมาย ขอบเขตงานใน ER ซะเลย (กันลื่น) เผื่อถูกถามให้ลากอาจารย์ไปที่บอร์ดเลย จากนั้นไกด์เรื่องความเชื่อมโยงจาก PCT ต่างๆกับงานหน่วยงานเรา เอาคำถามเก่าๆของ สรพ.มาลองถามและหาคำตอบกันดู ซ้อมไว้ๆนะทุกคน
ได้ตัวช่วย พี่น้อยช่วยติวเรื่อง IC ให้อีก เน้นเพิ่มการปฏิบัติตามแนวทาง ICT เรื่องการระบุวัน เวลาเปิด หมดอายุของยาที่เปิดใช้แล้ว การป้องกันตัวเอง การแยกขยะ การล้างมือ การปฏิบัติเมื่อถูกของมีคมที่เปื้อนสารคัดหลั่งคนไข้ทิ่มตำ ให้ล้างส่วนที่ถูกทิ่มตำด้วยน้ำ สบู่มากๆ แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่ต้องบีบเค้น เพราะยิ่งทำให้เนื้อเยื่อบอบช้ำ ติดเชื้อง่ายขึ้น (ยายน้อยจะมาตรวจตราขยะอีกแต่เช้ามืดก่อนอาจารย์มา ย้ำให้พยาบาลเหยียบดูขยะบ่อยๆ ถ้าเกินสองในสามถังให้บอกพี่เปล แม่บ้านเปลี่ยนออกเลย)
หนึ่งแจงความเสี่ยง High risk. High volumn.
ไก่เตรียมความพร้อมเครื่องมือ พบว่าเครื่อง suction 2 เครื่อง หมดอายุวันสอบเทียบ ถามไปยังรัตนาพร(ทีมเครื่องมือ) บอกว่ามีแผนจะทำใน วันที่ 28-30 มิย.นี้ ก็เป็นอันว่าตอบตามนี้แหละนะ และเตรียมตอบชุดข้อมูลงาน ER
เล็กตรวจสอบ CASE emer, urgent. ย้อนไปสองสามวันว่ามีลงข้อมูลไม่ครบมั้ย รับอาสาอยู่ประจำห้องฉีดยา เพราะมั่นใจว่าความรู้คู่ยา ผมไม่พลาดแน่ มั่นใจๆๆๆ
ป๋อมนั่งฟัง เน้นเรื่อง clinical risk ครั้งล่าสุด เรื่องทรุดลงระหว่างส่งต่อ case stroke ให้พูดแนวทบทวน 12 กิจกรรม กำชับห้ามลืม
ส่วนเด็กหญิงเมเป็นอาจารย์ติวเรื่อง ENV.และ 5ส การจัดการอัคคีภัย เน้นบทบาทหัวหน้าเวรและสมาชิกในเวรแต่ละเวร ทั้งพยาบาล และ EMT , ผัง 5ส ติดใหม่ให้ up date ร้อนๆพร้อมเสริฟ
จุ๊วิ่งไปหาภัตตาหารมารองท้อง ดันทำลูกชิ้นหกทิ้งทั้งจาน เกือบพากันเก็บไปเข้าเวฟกินซะแล้ว ดังนั้นเงาะกับสัปปะรดที่เหลือก็เลยถูกฟาดเรียบในเวลาอันรวดเร็ว(ไม่มีใครรอใครเลย)
โต้งถูกติวเรื่อง ทบทวน 12 กิจกรรม ของงาน EMS กำชับห้ามลืมเด็ดขาด
หนุ่มรับเรื่องตรวจสอบอุปกรณ์ ความพร้อมใช้ของภายในรถออกเหตุ และกระเป๋าออกเหตุ
สังเกตเห็นว่าเคาน์เตอร์EMT ดูโล่งสะอาดขึ้นนะ ดีๆๆ รักษามาตรฐานต่อไปด้วย
ยังมีผู้เสียสละอยู่เฝ้าในเวร บริการคนไข้รอกลุ่มติว ต้องปรบมือดังๆให้ หงา กับ ไหม รวมทั้งน้องๆที่กำลัง tern งานด้วย
เห็นความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของทีมงานทุกๆคนแล้ว รู้สึกตื้นตัน อยากเห็นภาพแบบนี้ให้คงอยู่ในหน่วยงานของเราตลอดไป เอาล่ะนะวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร ก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นส่วนเติมเต็มให้หน่วยงานเราก็แล้วกัน ER สู้ๆ!!!!!

สัมภาษณ์หมอยา (อดีตหมอตำแย)

สัมภาษณ์หมอยา (อดีตหมอตำแย)



วันที่ 17 พค. 53 ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ยายอีม เปรียบดีสุด อายุ 73 ปี บ้านเลขที่ 75/10 ม.11 บ้านหนองจอก ต.ตาเบา อดีตเคยเป็นหมอตำแย เคยช่วยแก้ไขอาการแม่ที่คลอดไม่ออก เพราะเด็กท่าขวาง ด้วยการกลับท่าเด็กทางหน้าท้องได้หลายคน มีหลักฐานให้ไปถามต่อได้ที่ นางถวัลย์ บ้านหนองจอกดูได้ แต่ปัจจุบันยายอีม ได้สนใจและหันเหเปลี่ยนตัวเองมาเป็นหมอยา มีแท่นรูปเคารพตั้งอยู่ในห้องหนึ่งในบ้าน มีผู้มาให้ต้มยาหม้อตำรับรักษามะเร็งส่วนต่างๆ และเดี๋ยวนี้แม่คลอด ไปคลอดที่ รพ.ปราสาทกันสะดวก จึงไม่เคยได้ทำคลอดให้ใครอีก ยายอีมสามารถประกอบพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ ตัดกรรม ดูหมอได้ สามีของยายอีม ชื่อนายลวดก็เป็นหมอสมุนไพรพื้นบ้านเหมือนกัน แต่เป็นตำรับยาอื่นๆไม่ใช่ยารักษามะเร็ง ตั้งใจว่าจะไปสัมภาษณ์ตาลวดอีกในวันต่อๆไป

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ประจำเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2553
วันที่ 31 พค. 2553

เตรียมรับมือ สรพ. ติวการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของทีมเปล และผู้ช่วยฯER ได้ตัวช่วย พี่น้อยช่วยติวเรื่อง IC เน้นการป้องกันตัวเอง การแยกขยะ การล้างมือ การปฏิบัติเมื่อถูกของมีคมที่เปื้อนสารคัดหลั่งคนไข้ทิ่มตำ ให้ล้างส่วนที่ถูกทิ่มตำด้วยน้ำ สบู่มากๆ แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่ต้องบีบเค้น เพราะยิ่งทำให้เนื้อเยื่อบอบช้ำ ติดเชื้อง่ายขึ้น การจัดการกับสารคัดหลั่งที่เปื้อนเปล หรือหยดลงพื้น ให้ใช้กระดาษฟางเช็ดออกให้มากที่สุด แล้วราดแอลกอฮอล์ จากนั้นม็อบพื้นตามปกติ

ส่วนเด็กหญิงเมเป็นอาจารย์ติวเรื่อง ENV.และ 5ส การจัดการอัคคีภัย ทำผัง 5ส มาติดใหม่ up date ร้อนๆควันโขมงกันเลย การตรวจสอบและการใช้ถังดับเพลิง ดูว่าแรงดันในถัง เกย์ต้องยังอยู่ในแถบสีเขียวจึงจะใช้ได้ น้องหวันสนใจมาก ทวนสอบเรื่องการดูแล ตรวจสอบแอร์ ไฟฉุกเฉินลุงเป็ดตอบได้ฉะฉาน ค่อยยังชั่วหน่อย

กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพเฉพาะทางของบุคลากรงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Caa%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtmlclip1%5C01%5Cclip_filelist.xml" rel="File-List">
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ประจำเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน  2553
วันที่  31 พค. 2553 
กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพเฉพาะทางของบุคลากรงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินครั้งที่ 1 /2553รอบ 6 เดือนหลัง  โดย การทบทวนความรู้เรื่อง
1.             การใช้ยาในหน่วยงาน ER  ข้อสอบ 10  ข้อ
2.             การช่วยฟื้นคืนชีพเด็ก (NCPR) ข้อสอบ 20  ข้อ
วปส.  เพื่อค้นหา GAP ในสมรรถนะเชิงวิชาชีพเฉพาะทาง แล้วจัดการพัฒนาต่อไป (บางคนเข้าใจว่าถ้าทำข้อสอบไม่ได้ พี่ต๋องจะให้ไปพับก็อส    แน่ใจเหรอว่าห้องพับก็อสเขาจะรับเรา ฮ่าๆๆๆ)
ผลสอบ  จะแจ้งให้ทุกคนทราบอย่างเปิดเผยต่อไป(หลังสอบครบทุกคน)   เพื่อให้แต่ละคนรู้ตัวตน ของตนเอง และเป็นการแสดงหลักฐานประกอบการประเมินสมรรถนะการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพของแต่ละคนด้วย

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฮาวปลึงกะไบ

วันที่ 14 พค. 53 เวลา 10.00 – 14.00 น. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยบันทึกภาพพิธีฮาวปลึงกะไบ ที่บ้านปันรัว หมู่ 10 ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อผี บูชาพรามหณ์(สังเกตจากมีการเชิญพรามหณ์มาประกอบพิธี) ที่ชุมชนในพื้นที่เขตตำบลตาเบา นำโดยชาวบ้านปันรัว เป็นกลุ่มที่อนุรักษ์ไว้ เป็นกิจกรรมที่คนในตำบลมารวมตัวกัน ภายใต้ความเชื่อเดียวกัน คือต้องการเสริมขวัญกำลังใจชาวนา ก่อนฤดูลงนา และให้ความสำคัญกับควาย (กะไบ) ที่เป็นผู้ที่ลากคันไถ ช่วยไถนา ให้ชาวบ้าน จนได้ทำนาสำเร็จ ได้ผลผลิตมาเลี้ยงชีวิต อย่างสมบูรณ์ทุกปี เพราะในสมัยโบราณ ไม่มีเครื่องจักรความเหล็ก เหมือนในปัจจุบัน การทำนาของชาวบ้านต้องอาศัยแรงควายในการไถนาเท่านั้น ชาวนาจึงให้ความสำคัญว่า ควาย เป็นสัตว์ที่อยู่คู่ชาวนา ต้องเลี้ยงดูเป็นอย่างดี บ้านไหนไม่มีควายไว้ไถนา เมื่อถึงหน้านาก็จะลำบาก ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเหตุผลของการดำรงอยู่ของพิธีฮาวปลึงกะไบ ตราบมาถึงทุกวันนี้ ในงานพิธีมีการเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมแข่งไถนาโดยใช้ความยลากคันไถ เพื่อชิงถ้วยรางวัลจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ด้วย (ท่านผู้ว่าให้รองฯ มาร่วมเปิดงานแทน) มีซุ้มแสดงวิถีชีวิตพื้นบ้าน เช่น การสาวไหม การตำข้าว การทำขนมจีน เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจของประชาชนในพื้นที่ตำบลตาเบา และตำบลใกล้เคียงเป็นอย่างมาก

ปราชญ์พื้นบ้าน บ้านพลวงใต้

วันที่ 14 พค. 53 เวลา 17.00 – 19.30 น.

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยได้สัมภาษณ์ คุณตาใน ลัดดาไสว อายุ 77 ปี ชาวบ้านพลวงใต้ เลขที่ 12 หมู่ 1 ตำบลบ้านพลวง ปราชญ์พื้นบ้าน ของชุมชน ที่ได้รับการเคารพนับถือ จากผู้คนว่ามีความสามารถในการเป่า จ่มมนตร์ ให้เด็ก เล็ก ๆ หายจากการเป็นโรคตาล โรคซาง และมีคาถาปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายในสตรีตั้งครรภ์ สตรีหลังคลอดให้ปลอดภัยจากผีปอบ ผีป่า ไม่ให้มากล้ำกราย และนอกจากนั้นยังมีความสามารถเฉพาะตัวในการเล่นดนตรีพื้นบ้านโบราณได้ทุกประเภท ได้แก่ ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซออู้ ซอด้วง กลองตะโพน เป่าปี่ ตีฉิ่ง กรับ เป็นต้น ซึ่งเครื่องตนตรีเหล่านั้นยังมีอยู่ให้เห็นบนบ้านของตาในด้วย และในยามว่างตาในยังมีฝีมือในการจักสาน สังเกตได้จาก บริเวณบ้านปรากฏเห็นทั้งไซดักปลา ตะข้อง สุ่มจับปลา สุ่มไก่ กรงนกเขา รวมทั้งกระเชอข้าวยักษ์ขนาดใหญ่ สานจากไม้ไผ่เหลา สำหรับประกอบพิธีแซนโฎนตา เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บอกถึงความเป็นปราชญ์พื้นบ้านผู้มากด้วยความสามารถอย่างลึกซึ้งในหลาย ๆ เรื่อง ฉันได้สัมภาษณ์ถึงกรรมวิธีในการจ่มมนตร์ เพื่อปัดเป่าต่าง ๆ จากตาใน ซึ่งฉันได้รับความกรุณาอย่างมากจากตาใน ช่วยให้เรามองเห็นความงดงามของภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่บ่งบอกถึงการเป็นอยู่ที่พึ่งพาตนเอง อย่างพอเพียงได้ชัดเจนขึ้น

ปราสาทหินบ้านพลวง

วันที่ 12 พค. 53 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยได้สัมภาษณ์ ลุงดอม ประไวย์ อายุ 57 ปี ชาวบ้านพลวงใต้ หมู่ 1 ตำบลบ้านพลวง ผู้ได้รับการไว้วางใจจากกรมศิลปากร ให้เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยของปราสาทหินบ้านพลวง ทราบข้อมูลจากลุงดอมว่าปราสาทหินบ้านพลวงเป็นศาสนสถานขนาดเล็ก ที่สร้างเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ศิลปะขอมสมัยบาปวน (พศ. 1560 – 1630) ศาสนสถานแห่งนี้คงเป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนาฮินดูของชุมชนโบราณ วัฒนธรรมขอมในเขตบ้านพลวงและใกล้เคียงในอดีต ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 ต่อมาจึงถูกทิ้งร้างไป เนื่องจากการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอม ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา